ที่แขวนโคมไฟ


ที่แขวนโคมไฟ ขนาด ยาว 90.1 ซม. สูง 12.5 ซม. หนา 10.3 ซม. ทำจากไม้ด้านหนึ่งแกะสลักเป็นรูปสัตว์ชนิดหนึ่งข้างใต้เจาะเป็นโพรงเอาไว้ใส่ลูกลอกที่ทำจากทองเหลืองมีแกนเหล็กเสียบสลักไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งที่ต่อจากรูปสลักสัตว์เป็นด้ามยาวประมาณสองศอกมีรอยเชื่อมต่อตรงกลางตรงปลายมีการเจาะรูไว้ใส่สลัก ใช้ในการแขวนโคมไฟ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาเก็บรักษา และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 5 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กระดานชนวน


กระดานชนวน เป็นแผ่นหินชนวน หินชนวนนี้จะเป็นแผ่นบางๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่างๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีนํ้าเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี โดยใช้เขียนด้วยดินสอหินซึ่งทำด้วยหินชนวนตัดและฝนเป็นแท่ง สำหรับฝึกเขียนหนังสือในสมัยก่อน กระดาษชนวนชิ้นนี้ ตัวกระดานทำจากหินชนวน มีกรอบที่ทำจากไม้เพื่อยึดไม่ให้กระดานแตกได้ง่าย ส่วนผิวกระดานนั้นมีรอยขีดเป็นเส้นบรรทัดเพื่อใช้เป็นบรรทัดในการเขียน ขนาดยาว 34.5 ซม. กว้าง 2 ซม. สำหรับประวัติวัตถุดังกล่าว พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาเก็บรักษา และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 6 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ฝาครอบขันหมาก


ฝาครอบขันหมาก ขนาดสูง 19.0 ซม. กว้าง 31.5 ซม. เป็นฝาครอบขันหมาก ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นฝาครอบขันหมากที่ทำจากไม้มีการลงรักหาง (ชาด) มีการแกะสลักเป็นชั้นๆ และวาดลวดลายประดับเป็นรูปคล้ายใบไม้บริเวณตรงกลางของฝาครอบ สีบางส่วนได้ถลอกออกไป มีร่องรอยชำรุดแตกหักบริเวณตรงกลางของฝาครอบที่มีการวาดลวดลาย สำหรับฝาครอบขันหมากชิ้นนี้ มีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวายให้แก่พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันฝาครอบขันหมากได้จัดเก็บไว้ที่ บริเวณตู้จัดแสดงหมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พานไม้โบราณ


พานไม้โบราณ ใช้สำหรับใส่ของ เช่น หมากพลู ดอกไม้ เทียน เป็นต้น ขนาดสูง 23.0 ซม. กว้าง 30.8 ซม. เป็นพานไม้โบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นพานทำจากไม้ มีการแกะสลักไม้เล็กๆ แล้วนำมาประกอบติดกันเพื่อทำเป็นที่จับ ในส่วนของฐานก็มีการแกะสลักเป็นขั้นๆ ลดหลั่นกันลงไปจนถึงปลายของฐาน มีร่องรอยหักบิ่นบริเวณปากพานและไม้แกะสลักเล็ก ๆ ที่ทำเป็นที่จับบางอันได้หลุดหายไป สำหรับประวัติพานไม้ชิ้นนี้ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวายให้แก่พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันพานไม้ได้จัดเก็บไว้ที่ตู้หมายเลข 5 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


แอ็บหมากล้านนา


แอ็บหมากล้านนา ขนาดส่วนของฝาสูง 14.2 ซม. ฝากว้าง 21.5 ซม. ฐานสูง 14.5 ซม. ฐานกว้าง 21.0 ซม. รวมสูง 28.7 ซม. เป็นแอ็บหมากล้านนา ไม่ทราบอายุ มีการแบ่งแยกชิ้นส่วนเป็น 2 ส่วน คือ ฝาปิด และฝารองปิด มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมสานด้วยไม้ไผ่ลงรักหาง (ชาด) และมีการวาดลวดลายเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ซ้อนกัน มีร่องรอยแตกหักบิ่นเล็กน้อยบริเวณฝาด้านบน สำหรับประวัติแอ๊บหมากล้านนาชิ้นนี้ มีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวายให้แก่พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันแอ็บหมากล้านนา จัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


อูบล้านนาโบราณ


อูบล้านนาโบราณ ขนาดส่วนของฝาสูง 45.5 ซม. ฝากว้าง 36.0 ซม. ฐานสูง 26.0 ซม. ฐานกว้าง 29.0 ซม. รวมสูง 71.5 ซม. เป็นอูบล้านนาโบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด ทำจากไม้ ลักษณะมีการแบ่งแยกชิ้นส่วนเป็น 2 ส่วน คือ ฝาปิด และฐาน ลักษณะเป็นอูปที่มีการลงรักหาง (ชาด) ส่วนฝามีการแกะสลักลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงปลายยอด ส่วนฐานมีการแกะสลักลดหลั่นกันลงมาจนถึงฐานตั้งแล้วกว้างออก มีร่องรอยชำรุดหักบิ่นออกบางส่วนบริเวณปากฐาน สำหรับประวัติอูบล้านนาโบราณชิ้นนี้ มีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวายให้แก่พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันอูบล้านนาโบราณจัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 5 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


สัตตภัณฑ์


สัตตภัณฑ์ เป็นเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาของล้านนา ในอดีตใช้สำหรับเป็นที่จุดเทียน 7 เล่ม ซึ่งปัจจุบันจะไม่มีการนำมาจุดเทียน แต่จะใช้ประดับอยู่หน้าพระประธานในวิหารเท่านั้น ขนาด ฐานกว้าง 133.8 ซม. กว้าง 134.5 ซม. สูง 168.0 ซม. ลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว จะมีเชิงเทียนไล่ลงมาจากยอดถึงฐานทั้ง 2 ด้าน รวม 7 เล่ม ทำด้วยไม้สัก เป็นสัตตภัณฑ์ศิลปะล้านนาโบราณ โดยตรงขอบทั้งฝั่งซ้ายและขวาแกะสลักรูปพญานาคประดับด้วยกระจกจืน ใจกลางของสัตตภัณฑ์เป็นรูปเทวดาถือเครือดอกล้านนาทำด้วยสมุกเกสรดอกไม้ผสมรักปั้นเป็นรูปเทวดา และเครือดอกไม้ลงรักปิดทองประดับด้วยกระจกจืน ส่วนฐานของสัตตภัณฑ์ลงรักปิดทองลายดอกล้านนา ชาวล้านนานิยมสร้างสัตตภัณฑ์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าผู้สร้างจะได้บุญกุศลมหาศาล และเมื่อสิ้นอายุขัย ผู้นั้นจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ ส่วนใหญ่สัตตภัณฑ์มักมีรูปพญานาคประกอบอยู่เสมอ เนื่องจากพญานาคเป็นสัตว์แห่งพุทธศาสนา จึงพบรูปพญานาคปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาได้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีคติความเชื่อที่สำคัญอีก 2 ประการ คือ 1. แนวคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา สัตตภัณฑ์สร้างขึ้นโดยแฝงด้วยสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างจักรวาลกับโลก โดยจำลองสัณฐานของจักรวาลในแนวตั้ง ซึ่งมีระเบียบเช่นเดียวกับภาพจิตรกรรมเขาพระสุเมรุ ซึ่งทางล้านนาเรียกว่าสิเนรุที่ล้อมรอบด้วยเขาบริวารทั้ง 7 เป็นวงกลมลดหลั่นกันลงมา ประกอบด้วย ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินันตกะ และ อัสสกัณณ์ 2. แนวคิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สัตตภัณฑ์สร้างขึ้นโดยสอดแทรกหลักธรรมหรือหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเลข 7 ได้แก่ หลักโพชฌงค์ 7 สัทธัมมะ 7 สัปปุริสธัมมะ 7 เป็นต้น เพื่อให้ชาวพุทธล้านนานำไปเป็นแนวปฏิบัติในชีวิต


จองพระเจ้า


จองคำ จองพระเจ้า หรือเตียงนอนพระเจ้า เป็นงานศิลปกรรมที่จำลองมาจากเตียงนอนของกษัตริย์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ามีวรรณะเป็นกษัตริย์มาก่อนที่จะทรงออกบวช จองคำหลังนี้ มีขนาด ยาว 86.0 ซม. กว้าง 46.0 ซม. สูง 111.0 ซม. อายุประมาณ 116 ปี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1145 แต่เดิมเป็นของวัดหมื่นสาร ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ที่วัดมงคลทุ่งแป้ง ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงมาอยู่ที่วัดมงคลทุ่งแป้งและช่วงระยะเวลาที่ได้มา ลักษณะทำมาจากไม้สัก ลักษณะหลังเปียงไม่มียอด มีประดับตกแต่งด้วยการลงรักปิดทองเขียนตกแต่งด้วยลายดอกไม้ ด้านบนประดับด้วยกระจกจืน มีคำจารึกเป็นอักษรธรรมล้านนา สรุปใจความได้ว่า “สุวรรณมัญจาจองคำอันนี้ สร้างเมื่อจุลศักราช 1261 เดือนห้าเป็ง เม็งวันสี่ไต โดยอ้ายปันและครอบครัวได้ถวายเพื่อค้ำชูศาสนาแก่วัดหมื่นสาร” คติความเชื่อในการสร้างจองคำหรือจองพระเจ้านั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าการสร้างจองคำ หรือจองพระเจ้า อันเป็นเครื่องสักการบูชาแก่พระพุทธเจ้า หากผู้ใดถวายจะได้อานิสงค์ผลบุญอย่างมาก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่นอกตู้จัดแสดง บริเวณด้านข้างพระประธานในวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


แว่นสายตาพระเจ้า


แว่นสายตาพระเจ้า หรือแว่นส่องตาพระเจ้า เป็นเครื่องสักการะที่ใช้ในพิธีบวชพระเจ้า หรือพิธีสวดเบิก หรือที่เรียกว่าการสมโภชน์พระพุทธรูป ซึ่งหมายถึง การทำให้พระพุทธรูปประดุจดังองค์พระพุทธเจ้า ได้ทำพิธีอบรมสมโภชและอุปสมบท ซึ่งล้านนาเรียกพิธีนี้ว่า การบวชพระเจ้า เนื่องจากเมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว แต่ยังถือว่าพระพุทธรูปองค์นั้นยังไม่เป็นพระพุทธรูป (สมมุติของพระพุทธเจ้า) อย่างสมบูรณ์ จนกว่าจะได้ทำพิธีอบรมสมโภชและอุปสมบทซึ่งเรียกกันว่า “บวชพระเจ้า” เพราะในช่วงที่ทำการสร้างพระพุทธรูป ช่างได้เหยียบย่ำองค์พระพุทธรูป จึงต้องกระทำพิธีบวชพระเจ้าเสียก่อนถึงเป็นพระพุทธรูปโดยสมบรูณ์ โดยในพิธีกรรมจะใช้กระจกหรือแก้วสะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่ดวงเนตรพระพุทธรูป เป็นการแสดงถึงการปลุกให้ตื่นหรือเบิกพระเนตร ในพิธีกรรมจะใช้กระจกหรือแก้วสะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่ดวงเนตรพระพุทธรูป เป็นการแสดงถึงการปลุกให้ตื่นหรือเบิกพระเนตร แว่นสายตาพระเจ้า หรือแว่นส่องตาพระเจ้าชิ้นนี้มีขนาด สูง 46.0 ซม. กว้าง 14.2 ซม. สร้างขึ้นตั้งแต่เจ้าอาวาสรุ่นก่อน ลักษณะทำจากทองเหลือง ส่วนฐานลักษณะเป็นทรงกรวย ขึ้นไปเป็นส่วนลำตัวลักษณะเป็นทรงกระบอก ส่วนปลายใช้สปริงเป็นตัวยึดจำนวน 3 ตัว กับกระจกสามบาน ลักษณะกระจกเป็นทรงกลมภายในกรอบทองเหลืองทรงเปลวเพลิง โดยแก้วกระจกสามดวง หมายถึง ญาณทั้งสามของพระพุทธองค์ในการตรัสรู้ คือ ปฐมยาม การระลึกชาติได้ มัชฌิมยาม การมองเห็นโลกมนุษย์ สวรรค์ นรก และปัจฉิมยาม คือการดับกิเลสทั้งมวล ปัจจุบันไม่มีการนำมาใช้งานแล้ว และจัดแสดงอยู่นอกตู้จัดแสดง บริเวณด้านข้างพระประธานในวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระพุทธรูปโลหะ


พระพุทธรูปโลหะ ขนาดตักกว้าง 4.0 ซม. สูงพร้อมฐาน 10.0 ซม. สูงเฉพาะองค์ 4.7 ซม. ฐานสูง 1.8 ซม. เป็นพระพุทธรูปโลหะไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กปางมารวิชัย ทำจากโลหะ มีการแกะสลักแบบหยาบๆ จึงไม่ค่อยสังเกตเห็นรายละเอียดของพุทธลักษณะได้มากนัก มีร่องรอยหักบิ่นออกเล็กน้อยบริเวณปลายศิรประภา สำหรับประวัติพระพุทธรุปโลหะชิ้นนี้ มีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวายให้แก่พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ตามความเชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา และเพื่ออานิสงส์ในการทำพระพุทธรูป และภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันพระพุทธรูปโลหะได้จัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา


ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา ขนาดสูง 0.5 ซม. กว้าง 1.3 ซม. ยาว 5.5 ซม. เป็นชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาไม่ทราบอายุที่แน่ชัด พระพิมพ์ คือ พระเครื่องที่สร้างขึ้นตามแบบแม่พิมพ์ โดยมีลักษณะเป็นชิ้นส่วนของพระพิมพ์ซึ่งทำจากดินเผา ไม่ทราบปาง เนื่องจากชิ้นส่วนที่เหลืออยู่เห็นเป็นพระวรกายด้านบนเพียงเล็กน้อยส่วนที่เหลือได้แตกหักออกไป สำหรับประวัติพระพิมพ์ชิ้นนี้ มีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้นำมาถวายให้แก่พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาได้จัดเก็บไว้ที่ ตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระพุทธรูปปางมารวิชัย


พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดตักกว้าง 7.0 ซม. สูงพร้อมฐาน . 15.6 ซม. สูงเฉพาะองค์ 12.4 ซม. ฐานสูง 3.2 ซม. ทำจากโลหะ ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียงรองรับฐานบัวหงายมีเกรส เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี เส้นพระเกศาทำตุ่มกลม เหนือพระเกตุมาลาปรากฏพระรัศมีเป็นทรงกรวยเรียว พระเนตรเหลืองต่ำลง พระนาสิกค่อนข้างหนา พระหนุเป็นปม พระศอเป็นชั้น พระอังสากว้าง บั้นพระองค์เล็ก ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้รับมาจากเมื่อนานมาแล้วไม่แน่ชัดว่าเมื่อไร และได้เก็บดูแลรักษาไว้ ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระพุทธรูปปางมารวิชัย


พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดตักกว้าง 6.0 ซม. สูงพร้อมฐาน 12.0 ซม. สูงเฉพาะองค์ 8.7 ซม. ฐานสูง 3.3 ซม. ทำจากแก้วโป่งข่าม ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานซ้อนลดหลั่นกัน 2 ชั้น ตกแต่งด้วยลวดลายสามเหลี่ยม พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี เส้นพระเกศาทำเป็นตารางสี่เหลี่ยม เหนือพระเกตุมาลาปรากฏพระรัศมีเป็นทรงกรวยเรียว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน พระเนตรเหลืองต่ำลง พระนาสิกค่อนข้างหนา ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้ซื้อมาจากจังหวัดตาก เมื่อประมาณ 3 ปี เพื่อให้ชาวบ้านที่มาร่วมงานทำบุญที่วัด ไว้เป็นของที่ระลึก ปัจจุบันจัดแสดงในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บูยาดินเผา


บูยาดินเผา หรือกล้องยาสูบ ขนาดสูง 2.8 เซนติเมตร ยาว 5.9 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.0 เซนติเมตร ปากกว้าง 2.1 เซนติเมตร ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นท่อยาวมีหลุมเล็ก ๆ สำหรับใส่ยาสูบ ตรงปากบนแตกหัก มีลวดลายเป็นกลีบดอกบัวรอบตัวปากกล้อง และลายขูดขีดเป็นเส้นรอบๆ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นกล้องยาสูบใช้สำหรับสูบยาเส้น สำหรับบูยาดินเผาชิ้นนี้ เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบบูยาดินเผาชิ้นนี้ในบริเวณของวัดหรืออาจจะเป็นของใช้เดิมของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชาวบ้านนำมาถวายให้ จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บาตรพระดินเผา


บาตรพระดินเผา ขนาดสูง 11.0 เซนติเมตร กว้าง 18.0 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15.0 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมก้นแบน ทำจากดินเผา บริเวณปากภาชนะแตกหัก เป็นบาตรพระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อน ซึ่งภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของผู้ใด หรือตั้งแต่สมัยใด ซึ่งบาตรที่มีลักษณะตรงตามหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี 2 ชนิดเท่านั้นคือ บาตรดินเผาและบาตรเหล็กรมดำ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ภายหลังจึงหันมาใช้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากสะดวกในการดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย จึงเป็นที่นิยมในหมู่สงฆ์ โดยพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาเก็บรักษา และภายหลังจึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ตะกรุดดินเผาแขวนคอช้างคอม้าโบราณ


ตะกรุดดินเผาแขวนคอช้างคอม้าโบราณ ขนาดสูง 7.0 เซนติเมตร กว้าง 3.0 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 เซนติเมตร เป็นตะกรุดดินเผาแขวนคอช้างคอม้าโบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นตระกรุดดินเผาทรงสูงรูปทรงโค้ง ด้านบนและด้านล่างมีช่องเป็นรูโหว่เชื่อมต่อหากัน มีไว้สำหรับสอดเชือกคล้องคอช้าง, ม้า ผิวของตระกรุดดินเผาค่อนข้างหยาบ มีสีน้ำตาลเข้ม มีร่องรอยชำรุดบริเวณขอบด้านท้ายของตระกรุด สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้าในบริเวณของวัด จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


พระหินอ่อนศิลปะพุกาม


พระหินอ่อนศิลปะพุกาม ขนาดตักกว้าง 3.5 เซนติเมตร ฐานสูง 4.8 เซนติเมตร สูงเฉพาะองค์ 14.8 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 19.5 เซนติเมตร เป็นพระหินอ่อนศิลปะพุกาม ไม่ทราบอายุแน่ชัด ทำจากหินอ่อนหรือหินปูนชนิดที่ขัดแล้วผิวจะเป็นมัน ลักษณะนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิยาว พระกัณฑ์ยาวถึง พระอังสะ พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม พระเกศาเรียบ พระพุทธรูปประทับนั่งอยู่บนฐานเขียง ด้านล่างของฐานเป็นรูโหว่ สำหรับประวัติพระพุทธรูปชิ้นนี้ ชาวบ้านได้นำมาถวายให้แก่วัดตั้งแต่เมื่อไรไม่เป็นที่แน่ชัด ต่อมาภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


กังสะดานโบราณ


กังสะดานโบราณ ขนาดกว้าง 24.5 เซนติเมตร สูง 15.0 เซนติเมตร เป็นกังสะดานโบราณ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายกับระฆังแต่มีรูปร่างแบน ทำจากโลหะ ด้านบนส่วนหัวเจาะรูไว้สำหรับใส่เชือก สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ ในอดีตเคยใช้ตีนำหน้าศพของพระภิกษุสงฆ์ที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดมงคลทุ่งแป้ง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจ้าอาวาสรุ่นเก่าก็เป็นไปได้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


เต้าปูนกินหมาก


เต้าปูนกินหมาก เป็นภาชะใส่ปูนกินหมาก ซึ่งการกินหมาก ถือเป็นวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยมาเป็นเวลานาน จึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ประเพณี และเป็นสัญลักษณ์แทนคุณค่าต่างๆ ในวัฒนธรรมไทย ในแง่ต่างๆ เต้าปูนเป็นเครื่องเชี่ยนที่มาพร้อมๆ กับการกินหมากที่คนไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะได้พบเต้าปูนทองเหลืองที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเต้าปูนในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเต้าปูนเป็นหัตถกรรมที่คนไทยทำขึ้นมาใช้เป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว เต้าปูนกินหมากชิ้นนี้ มีขนาด ฐานกว้าง 3.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฝา 12.5 เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน 7 เซนติเมตร ทำจากทองเหลือง มีสีดำติดอยู่บางส่วน ลักษณะจะมีสองส่วนคือ ตัวเต้าปูน สำหรับใส่ปูน และฝาสำหรับปิด ฝาเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 ชั้น คล้ายบัวถลา ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด สำหรับประวัติเต้าปูนกินหมากพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้า จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


บูยาดิน


บูยาดินเผา หรือกล้องยาสูบ ขนาดสูง 3.1 เซนติเมตร ยาว 3.0 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.6 เซนติเมตร ปากกว้าง 1.6 เซนติเมตร ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นท่อยาวมีหลุมเล็กๆ สำหรับใส่ยาสูบ ตรงกล้องยาแตกหัก ประดับด้วยลวดลายกลีบดอกบัว และลายขูดขีดเป็นเส้นรอบๆ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นกล้องยาสูบใช้สำหรับสูบยาเส้น หรือยาสมุนไพร สำหรับบูยาดินเผาชิ้นนี้ เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งไม่ทราบว่าองค์ใด ได้พบบูยาดินเผาชิ้นนี้ในบริเวณของวัดหรืออาจจะเป็นของใช้เดิมของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชาวบ้านนำมาถวายให้ จึงได้เก็บรักษาไว้ ภายหลังพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


ก้นหอยพระพุทธรูปโบราณ (เกศาพระเจ้า)


ก้นหอยพระพุทธรูปโบราณ (เกศาพระเจ้า) ขนาดสูง 3.2 เซนติเมตร กว้าง 3.9 เซนติเมตร สภาพสมบูรณ์ ไม่ทราบอายุที่แน่ชัด มีลักษณะเป็นปูนปั้นทำเป็นเส้นวางขดซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 3 ชั้นเหมือนก้นหอย หรือลายที่ม้วนเป็นเกลียวเหมือนเปลือกหอยโข่ง เป็นสีน้ำตาลอมดำ ในอดีตเป็นเส้นพระเกศาของพระประธานภายในวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมของพระประธานเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง


นกเวียงกาหลง


นกเวียงกาหลง ขนาดสูง 5.8 เซนติเมตร กว้าง 4.0 เซนติเมตร ยาว 5.2 เซนติเมตร เป็นนกเวียงกาหลงไม่ทราบอายุ มีลักษณะเป็นปูนปั้นรูปนกตัวเล็กรูปร่างค่อนข้างอ้วนท้วม ขาสั้น ตกแต่งด้วยรอยขูดขีดบริเวณปีกของนก มีตาและมีจะงอยปาก ผิวเป็นเคลือบสีด้วยสีเทา ยกเว้นบริเวณส่วนขาและปีกหางด้านล่างมีร่องรอยชำรุดบริเวณเท้าและหาง สำหรับประวัติวัตถุชิ้นนี้ พระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) ได้พบเข้าในบริเวณของวัด จึงได้เก็บรักษา และได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงภายในตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง