ไม้กลายเป็นหิน


ซากดึกดำบรรพ์ของพืชประเภทหนึ่งเกิดขึ้นจากท่อนไม้ถูกกลมอยู่ใต้ผิวดินในสถานที่ขาดออกซิเจนทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าและถูกแช่อยู่ในสารละลายซิลิกาที่มีความเข้มข้นสูงเนียงพอในสภาพแวดล้อมที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจนเป็นช่วงเวลาทำให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาสะสมตัวแทนโมเลกุลของเนื้อไม้จนทำให้ท่อนไม้เป็นเนื้อสารอินทรย์เปลี่ยนไปเมินเนื้อหินซิลิกาแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไม้


ไหดินเผา


ไหใบนี้เป็นไหดินเผา มีหูหิ้วขนาดเล็กสองข้างที่บริเวณบ่า ฐานกลมเล็กแล้วค่อยขยาดใหญ่ออกบริเวณลำตัว รูปทรงคล้ายแจกันในปัจจุบัน โดยในอดีต สันนิษฐานว่าเคยใช้ใส่น้ำเป็นหลัก แต่มีสภาพชำรุด ตั้งแต่ส่วนคอขึ้นไปแตกหายไป ลำตัวมีรอยร้าว ด้นแตก


เตารีดเหล็กโบราณ


เตารีดเหล็กโบราณ ทำจากเหล็กทั้งชิ้น ฐานเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมาะสำหรับรีด ด้านในกลวงสำหรับใส่ถ่านที่เผาไฟจนแดง ฐานเจาะรูรูปครึ่งวงกลมไว้สองรูทั้งสองฝั่งเพื่อระบายความร้อน ฝาเปิดปิดได้ ด้านบนของฝามีด้ามจับ เวลาใช้จะต้องใส่ถ่านเข้าไปในฐานของเตารีด แล้วนำไปลองรีดกับใบตองเพื่อทดสอบความร้อนก่อนรีดผ้าจริง


ดาบจำลอง


ดาบจำลอง เป็นดาบที่ไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการสงครามหรือป้องกันตัว แต่ใช้ในพิธีกรรมอย่างเลี้ยงผี แก้บน หรือใช้ประดับบ้านเสริมบารมี เนื่องจากเป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นในยุคหลัง ไม่ได้รบกันด้วยดาบอีกแล้วใบดาบจึงเป็นเพียงเหล็กแผ่นบางๆ มีคมเดียว ด้ามเป็นไม้กลึง ฝีกทำจากไม้แกะสลักสวยงาม มีเขี่ยวหรือเครื่องป้องกันมือทำจากโลหะ


ซิ่นตีนจก


ซิ่นตีนจก เป็นผ้าซิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในล้านนา หรือภาคเหนือของประเทศไทย มีส่วนประกอบสามส่วนคือ หัวซิ่นหรือเอวซิ่น เป็นส่วนทีอยู่บนสุด ตัวซิ่น เป็นส่วนที่เป็นสีพื้น มีลายขวาง ลายขวางเหล่านี้เรียกว่า ตาซิ่น และส่วนล่างสุดคือตีนซิ่น เป็นลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธี “จก” จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ซิ่นตีนจก” โดยซิ่นตีนจกในล้านนาในอดีต มีอยู่หลายแหล่งทอ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอทางใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปเกือบหมด


หนังตะลุง


ตะลุง เป็นศิลปะการแสดงเชิดหนังภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนแหลมมลายู และหมู่เกาะทั้งหลาย โดยใช้แผ่นหนังสัตว์ตากแห่งมาแกะสลักเป็นรูปร่างของคน สัตว์ หรือตัวละครที่จะใช้แสด ตกแต่งให้สวยงาม ใช้เชิดหลังฉากผ้าขาว โดยส่งไผมาจากหลังฉาก เพื่อให้เงาของตัวหนังทอดไปบนฉากผ้า ผู้ที่จะเชิดหุ่นหนังตะลุงได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาและถ่ายทอดวิชามามากในระดับหนึ่ง เนื่องจากชาวใต้มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับหนังตะลุง


ชฎา


ชฎา คือเครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ มียอดแหลม มีกรรเจียกหรือกระหนกข้างหู ประดิษฐ์ขึ้นด้วยโลหะ หรือวัสดุทดแทนอื่นๆ เช่น พลาสติก อลูมิเนียม ประดับลวดลายโลหะฉลุ ประดับ อัญมณี กระจกสี ชฎาถือเป็นของสูงอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ไทย และนาฏศิลป์ภาคใต้อย่างโนราห์ ผู้สวมใส่ต้องมีครูบาอาจารย์ หรือมีวิชามามากพอ จึงสามารถสวมชฎาเพื่อเล่นละครได้ เนื่องจากมีกฎข้อบังคับและความเชื่อมากมายเกี่ยวกับชฎา


ถ้วย


ถ้วยดินเผาเนื้อสีขาวเกลี้ยง ฐานกลม ปากกลม แต่ขอบปากแตกไปบางส่วน ได้จากแหล่งเตาเผา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 19 – 20 หรือประมาณ 600 – 700 ปีมาแล้ว ในอดีต ถ้วยถือเป็นภาชนะสารพัดประโยชน์ สามารถใส่ข้าว ใส่แกง ใส่น้ำดื่ม หรือแม้กระทั้งใช้เป็นหน่วยวัดตวง


แจกันดินเผา


แจกันดินเผา เนื้อสีเทา เป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดที่นำมาปั้นขึ้นรูปและผ่านการเผาจนมีเนื้อแกร่ง สามารถอุ้มน้ำได้ดี มีความทนทานสูง ใช้หรับใส่ดอกไม้ประดับตกแต่งบ้าน


ตะกร้า (ไม้ไผ่)


ตะกร้าใบนี้ ทำจากไม้ไผ่นำมาจักเป็นเส้นขนาดเล็ก แล้วสานขึ้นเป็นรูปทรงครึ่งวงกลม แต่พื้นแบนราบสำหรับวาง มีหูหิ้วทำจากหวายวงโค้งรูปครึ่งวงกลม ใช้สำหรับใส่สิ่งของขนาดเล็กๆ


กระต่ายขูดมะพร้าว


กระต่ายขูดมะพร้าวเป็นเครื่องมือในครัวอย่างหนึ่ง ใช้สำหรับขูดเนื้อมะพร้าวออกจากกะลา ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีส่วนประกอบสองส่วน ส่วนล่างเป็นฐานวาง ส่วนบนเป็นไม้แผ่นยาว ตรงปลายติดเหล็กปลายแหลมคมเป็นซี่ขนาดเล็กสำหรับขูดเนื้อมะพร้าว เวลาใช้จะนั่งอยู่บนกระต่าย ใช้แรงกดจากไหล่เพื่อขูดเนื้อมะพร้าว


เสื้อยันต์


เสื้อยันต์ เป็นเครื่องรางของขลังของเหล่าทหารในอดีต สำหรับเสื้อเมื่อต้องออกศึกสงคราม เชื่อว่าให้อิทธิฤทธิ์ด้านคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า มีอำนาจข่มขวัญศัตรู เสื้อยันต์ผืนนี้ทำจากผ้าฝ้าย เป็นรูปทรงเสื้อแขนกุด บนเนื้อผ้าลงอักขระเลขยันต์ไว้หลายรูปแบบตามความเชื่อ หรือตามแต่ครูบาอาจารย์ได้ถ่ายทอดมา


ทัพพี


ทัพพีทองเหลือง เป็นภาชนะสำหรับตักอาหาร หรือข้าวหุงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ทำจากทองเหลืองทั้งชิ้น ผิวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย


มีดตัดหวายลูกนิมิต


มีดตัดหวายลูกนิมิต เป็นมีดที่ใช้ในพิธีกรรมสำหรับตัดหวายลูกนิมิต ด้าม ฝัก และแท่นวาง ทำจากไม้เนื้อแข็ง ลงยางรัก ประดับเปลือกหอยมุกเป็นลวดลายดอกไม้ เรียกว่า ลายประดับมุก ใบทำจากเหล็ก ลงอักขระด้วยการตอกลายไว้ตลอดความยาวใบมีด เชื่อกันว่าเป็นมีดสำหรับคนมีวิชาอาคมหรือพระเท่านั้น ที่สามารถใช้มีดเล่นนี้ในพิธีกรรมต่างๆได้


ถาด


ถาด เป็นภาชนะสำหรับใส่ของจำนวนมากๆ ทำด้วยโลหะ พื้นฐานด้านในเขียนลวดลายดอกไม้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม มีลักษณะเป็นวงกลม บ้างก็ทำเป็นสี่เหลี่ยม ในวัฒนธรรมชาวล้านนา เวลานำอาหารมารับแขก จะนำจานหรือถ้วยอาหารใส่ถาดยกมาร่วมรับประทานด้วยกัน