โอ่งเกลือ / อุ่งเกลือ (ภาษาไตลื้อ)


โอ่งเกลือชิ้นนี้มีความสูง 34 เซนติเมตร ปากโอ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร เป็นของสะสมอายุยาวนานกว่าร้อยปี เป็นสมบัติของนางจันติ๊บ บัวมะลิ ซึ่งได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ โอ่งปากแคบใบนี้ใช้สำหรับเก็บรักษาเกลือ ในอดีต “เกลือ” เป็นสิ่งที่มีค่าเช่นเดียวกับเงินตราในปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดีในโอ่งปากแคบเพื่อป้องกันการขโมยเกลือ เพราะเมื่อมีคนล้วงมือเข้าไปในโอ่งมือก็จะติดกับปากโอ่งยากต่อการนำมือและเหลือออกนั่นเอง


น้ำต้น


น้ำต้น เป็นภาชนะใส่น้ำศิลปะล้านนาชนิดหนึ่ง ซึ่งในอดีตมีการสืบทอดจากงานฝีมือของช่างชาวไทใหญ่ คนพื้นเมืองนิยมเรียกว่า “น้ำต้นเงี้ยว” เป็นภาชนะดินเผาแรงไฟต่ำ ลักษณะทรงเรียวสูงคล้ายขวดน้ำ ตัวน้ำต้นอ้วนกลม ขนาดปากเล็ก น้ำต้นทั่วไปมักจะมีสีแดงอิฐ ตกแต่งด้วยลวดลายกดประทับและขูดขีด ด้านการใช้สอย น้ำต้นจะใช้สำหรับใส่น้ำดื่มบนเรือนหรือใช้รับแขกเหรื่อที่เดินทางมาบ้าน และยังมีความเชื่อของคนในอดีตที่ว่าน้ำต้นเป็นของสูงจึงใช้สำหรับใส่น้ำในพิธีกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีเกียรติ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ตั้งไว้บนหอผีเจ้าทรง หรือใช้ใส่น้ำเพื่อบวงสรวงเซ่นไหว้ผีในพิธีฟ้อนผี สำหรับน้ำต้นชิ้นนี้นางจันติ๊บ บัวมะลิได้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้ฯ


หม้อใส่ข้าวสาร


หม้อใส่ข้าวสารขนาดใหญ่ใบนี้ เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ในอดีตมีการนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับชิ้นนี้ นางอุษา บุญชุ่มใจ ผู้เป็นเจ้าของ ได้นำมาใส่ข้าวสารเพื่อป้องกันมอดหรือแมลงที่อยู่ในข้าว นอกจากนี้ คนในอดีตยังนิยมนำมาใส่น้ำดื่ม เนื่องจากดินเผามีคุณสมบัติช่วยรักษาความเย็นของน้ำ ทำให้น้ำที่อยู่ในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา สำหรับขั้นตอนการผลิตหม้อนั้น เริ่มต้นจากการเตรียมดินแล้วนำมาตากแห้ง จากนั้นนำไปร่อนตะแกรงแล้วผสมกับทรายโดยมีสัดส่วนการผสมในปริมาณ ดิน 5 ส่วน ทราย 3 ส่วน ผสมน้ำแล้วนวดผสมให้เข้ากัน แล้วจึงนำมาขึ้นรูปเป็นหม้อ จากนั้นจึงนำไปเผาโดยนำไม้ไผ่ผ่าซีกมาวางรอง จากนั้นปูทับด้วยฟาง แล้วจึงนำหม้อวางลงไปเผาก่อนนำไปใช้งาน


ถ้วยดินเผาเคลือบ


ถ้วยดินเผาเคลือบชิ้นนี้มีขนาดความสูง 6 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นวงกลมขนาดเล็ก ปากถ้วยลึก ก้นถ้วยเล็ก ผลิตมาจากเนื้อดินละเอียดนำไปเผาแล้วเคลือบ หรือที่เรียกว่าเซรามิก ถ้วยดินเผาชิ้นนี้มีสภาพสมบูรณ์ ทางศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้รับมอบมาจากนางอุสา บุญชุ่มใจ ซึ่งได้เก็บสะสมถ้วยชิ้นนี้มากว่า 70 ปี ในอดีตถ้วยใบนี้ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารเพื่อบริโภคและเป็นของสะสมใช้สำหรับตกแต่งภายในบ้านเรือนเพื่อให้เกิดความสวยงามยามมีแขกมาเยี่ยมเยือน คุณสมบัติของถ้วยดินเผาเคลือบชิ้นนี้สามารถอุ้มน้ำและทนความร้อนได้ ปัจจุบันความนิยมในการใช้เครื่องดินเผาเคลือบลดน้อยลงตามเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมากขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบวัสดุที่ใช้ในการผลิตจากดินกลายมาเป็นเมลามีน พอลิเมอร์ หรือสแตนเลส ที่มีความคงทนและเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ส่วนภาชนะดินเผาเคลือบนั้นปัจจุบันนิยมเก็บสะสมหรือนำมาจัดแสดงเป็นส่วนมาก


ถ้วยลายมังกร


ฐานเป็นทรงกลมขนาดเล็ก และมีปากขนาดใหญ่ทรงกลมใหญ่กว่าฐาน มีการตกแต่งลวดลาย


ถ้วยขาว


ฐานเป็นวงกลมเล็กและปากมีขนาดใหญ่กว่าฐานเป็นทรงสูง ใช้ปูนขาวเคลือบมีการตกแต่งลาย


ไหใส่ปลาร้า


ปากเล็กจนถึงปากไหแล้วเริ่มใหญ่แล้วก็เล็กจนถึงก้นไห มีลวดลายเป็นเส้นตรงล่างปากไห


ไหใส่น้ำปู


ปากกับตัวไหมีความใหญ่เท่าๆกันและฐานของไหเล็กลง มีหู2ข้าง มีลวดลายเป็นเส้นบริเวณคอไห เคลือบด้วยสีเขียว